วันพุธที่ 9 ตุลาคม พ.ศ. 2556

การผ่าเครื่อง คาวาซากิ เคอาร์ 150 อาร์ Kawasaki KR150R


Kawasaki KR150R รถสปอร์ตอีกรุ่นหนึ่งจะบ่ิงบอกว่าเป็นรถสปอร์ตที่เหนือกว่าซูปเปอร์สปอร์ตทั่วไป ซึ่งทางคาวาซากิได้เรียกรถรุ่นนี้ว่าเป็นรถอัลตร้าสปอร์ต รถรุ่นนี้ใช้ระบบ KIPS หรือระบบลิ้นไอเสียอัตโนมัติ ซึ่งจะทำหน้าที่เปิดปิดลิ้นไอเสียเพื่อให้เครื่องยนต์มีกำลังอย่างต่อเนื่องทุกความเร็วรอบ เสื้อสูบก็ใช้แบบอัลูมิเนียมที่ไม่มีปลอสูบซึ่งเรียกว่าเสื้อสูบ ELEX ซึ่งไม่มีการคว้านกระบอกสูบเหมือนเสื้อสูบทั่วไป ดังนั้นลูกสูบจึงมีเพียงเบอร์เดียว สำหรับขั้นตอนในการผ่าเครื่องมีดังนี้






การถอดเครื่องยนต์ Kawasaki KR150R
- ถ่ายน้ำมันเกียร์ โบลท์ถ่ายน้ำมันเกียร์ A อยู่ด้ายซ้ายใกล้กับคันเกียร์ C
- ถ่ายน้ำหล่อเย็น โบลท์ถ่ายน้ำ B อยู่ใต้ปั๊มน้ำ A
- ถอดชิ้นส่วนต่อไปนี้ ฝาครอบข้างด้านขวา ฝาครอบแบตเตอร์รี่ เบาะ ถังน้ำมัน ท่อไอเสีย หัวเทียน ท่อน้ำด้านล่าง คาร์บูเรเตอร์ สายปั้มออโต้ลู้บ สายน้ำมันออโต้ลู้บ สายครัตช์ ท่อยางหม้อน้ำ ขาเหยียบเบรคและสปริงสวิตซ์ไฟเบรค โซ่และสเตอร์หน้า คันเกียร์
- ถอดข้อต่อสายไฟและแคมป์ยึดสาย ดังนี้ ขั้วต่อสายไฟแม็กนีโต A ขั้วต่อสายไฟเกียร์ว่างและเกียร์ 6 ขั้วเสียบเซ็นเซอร์อุณหภูมิน้ำ
- ตั้งขาตั้งกลาง อัดล้อหน้าหลังกันรถเลื่อน
- ถอดนอตยึดเครื่อง B ถอดนอตหูยึดฝาสูบและถอดหูยึดออก D
- ยกเครื่องยนต์ออกทางด้านขวา


การถอดฝาสูบ Kawasaki KR150R
- ถอดโบลท์ยึดฝาสูบและปะเก็นฝาสูบ
- ตรวจเช็คความโก่งของฝาสูบ ใช้บรรทัดเส้นผมวางบนผิวของฝาสูบ ใช้ฟิลเลอร์เกจสอดระหว่างบรรทัดกับฝาสูบ ค่าจำกัดการซ่อมอยู่ที่ 0.05 ม.
- ถ้าฝาสูบโก่งมากกว่าค่าจำกัดการซ่อมต้องเปลี่ยนฝาสูบใหม่ ถ้าโก่งเล็กน้อยให้ใช้กระดาษทรายเบอร์ 200 และเบอร์ 400 ขัดบนแท่นระดับจนผิวหน้าเรียบ



การถอดลิ้นไอเสีย Kawasaki KR150R
- ถอดฝาครอบชุด KIPS ด้านขวาของเสื้อสูบ
- ถอดโบลท์ ยึดขาเลื่อนก้านลิ้นออก D และดึงบู๊ชก้านเลื่อนลิ้นออกจากเสื้อสูบ C
- ถอดคลิปล๊อคและถอดร่องเลื่อนก้านเลื้อนลิ้นออก
- ยกลิ้นไอเสียขึ้นเล็กน้อยและถอดก้านเลื่อนลิ้นออก
- ยกลิ้นไอเสียออก

การถอดเสื้อสูบ Kawasaki KR150R
- ถอดนอตเสื้อสูบ
- ยกเสื้อออกและถอดปะเก็นฐานเสื้อสูบ ถ้าจำเป็นควรใช้ค้อนเคาะเบาๆรอบฐานเสื้อสูบ
- ทำความสะอาดเอาเขม่าออกจากด้านในฝาครอบ
- ขูดเขม่าจากช่องไอเสียและช่องฝาครอบ
- ตรวจตะกอนและสนิมในช่องทางเดินน้ำในเสื้อสูบ ถ้ามีให้ทำความสะอาด


การตรวจเช็คการสึกหรอของกระบอกสูบ Kawasaki KR150R
- ตรวจเช็คผิวภายในกระบอกสูบว่ามีรอยหรือว่าสึกหรอผิดปกติหรือไม่
- ถ้ากระบอกสูบสึกหรอหรือเสียหายมากต้องเปลี่ยนใหม่
- การสึกหรอของกระสอบสูบจะสึกหรอไม่เท่ากันตลอดและสึกในแนวที่แตกต่งกัน การวัดจะต้องวัดหลายๆจุด ทั้งด้านซ้านและด้านขวา วัดด้านหน้ากับด้านหลัง แต่ละด้านวัด 3 จุด ถ้าวันเส้นผ่าศูนย์กลางภายในของกระบอกสูบแล้วมีขนาดเกินกว่าค่าจำกัดการซ่อมจะต้องเปลี่ยนกระบอกสูบใหม่ เพราะว่ากระบอกสูบแบบ ELECTROFUSION ไม่สามารถคว้านหรือขัดได้ เส้นผ่าศูนย์กลางภายในกระบอกสูบค่ามาตราฐาน 59.000-59.015 และผลต่างการวัด 2 ครั้งน้อยกว่า 0.01 มม. ค่าจำกัดการซ่อม 59.09 มม. หรือผลต่างการวัด 2 ครั้งต้องมากกว่า 0.05 มม.



การถอดลูกสูบ Kawasaki KR150R
- ใช้ผ้าสะอาดอุดเข้าไปที่ห้องเพลาจ้อเหวียงรอบๆก้านสุบเพื่อกันชิ้นส่วนหล่นลงไปในห้องเพลาข้อเหวี่ยง
- ถอดคลิปล๊อค B ออกจากสลักูกสูบด้วยคีมปากแหลม
- ถอดลูกสูบออกโดยการดันสลักลูกสูบออกทางด้านที่ถอดคลิปล๊อคออก ถ้าหากสลักแน่นให้ใช้เครื่องมือดูดสลักลูกสูบ
- ถอดแหวนตัวบนและแหวนตัวล่างโดยให้คีมถอดแหวนลูกสูบ A หรือใช้นิ้วหัวแม่มือค่อยๆถ่างปากแหวนออกแล้วดันขึ้นถ้าไม่มีคีนถอดแหวนลูกสูบ

การวัดเส้นผ่าศูนย์กลางของลูกสูบ Kawasaki KR150R
- วัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายนอกของลูกสูบ โดยวัดจากปลายล่างสุดของลูกสูบขึ้นมา 5 มม.
- ถ้าขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของลูกสูบต่ำกว่้าค่าจำกัดการซ่อม ต้องเปลี่ยนลูกสูบใหม่

เส้นผ่าศูนย์กลางของลูกสูบ Kawasaki KR150R
- ค่ามาตราฐาน 58.965-58.980 มม.
- ค่าจำกัดการซ่อม 58.82 มม.

ช่องว่างระหว่างลูกสูบกับกระบอกสูบ Kawasaki KR150R
- ช่องว่างระหว่างลูกสูบกับกระบอกสูบ จะวัดเมื่อทำการเปลี่ยนลูกสูบหรือกระบอกสูบใหม่ เมื่อใดก็ตามที่เปลี่ยนกระบอกสูบใหม่ ระยะห่างระหว่างลูกสูบกับกระบอกสูบจะต้องใกล้เคียงค่ามาตราฐานถ้าเปลี่ยนลูกสูบระยะห่างจะเกินกว่ามาตราฐานเล็กน้อย แต่ต้องไม่น้อยกว่าค่าต่ำสุดเพื่อหลีกเลี่ยงลูกสูบติด
- เพื่อความแน่นอนให้ทำการแยกการวัด โดยวัดเส้นผ่าศูนย์กลางภายในจุดด้านล่างของกระบอกสูบ แล้วนำมาลบกันจะได้ระยะห่างระหว่างลูกสูบกับกระบอกสูบ รพยพห่างระหว่างลูกสูบกับกระบอกสูบ 0.030-0.040 มม.


การตรวจเช็คแหวนลูกสูบ-ร่องแหวนลูกสูบ Kawasaki KR150R
- ตรวจเช็คแหวนและร่องแหวนด้วยสายตา
- ถ้าแหวนลูกสูบสึกหรอผิดปกติหรือชำรุดต้องเปลี่ยนใหม่
- ถ้าร่องแหวนมีรอยสึกหรอหรือชำรุดต้องเปลี่ยนลูกสูบใหม่
- เช็คร่องแหวนโดยใช้แหวนลูกสูบใส่เข้ากับร่องแหวน
- แหวนตัวบนและตัวล่างเป็นแบบคีสโตนทั้งสองตัว


การตรวจเช็คช่องว่างปากแหวน Kawasaki KR150R
- ใส่แหวนลูกสูบเข้ากับกระบอกสูบโดยใช้ลูกสูบกดให้แหวนลูกสูบเข้าไปอยู่ใต้ส่วนใต้สุดของกระบอกสูบ ซึ่งเป็นบริเวณที่มีการสึกหรอน้อยที่สุด
- ใช้ฟิลเลอร์เกจวัดระยะช่องว่างปากแหวน
- ถ้าช่องว่างเกินกว่าค่าจำกัดการซ่อมแสดงว่าแหวนหลวมต้องเปลี่ยนใหม่ ช่องว่างปากแหวน ค่ามาตราฐาน 0.15-0.35 มม. ค่าจำกัดการซ่อม 0.65 มม.

การตรวจเช็คการสึกหรอของสลักลูกสูบ ลูกสูบและก้านสูบ Kawasaki KR150R
- ตรวจดูคลิปล๊อคประกอบอยู่ในร่องถูกต้องดีหรือไม่
- ถ้าคลิปล๊อคอ่อนให้เปลี่ยนใหม่ ถ้าร่องสลักลูกสูบสึกหรอมากให้เปลี่ยนลูกสูบใหม่
- ตรวจดูรูสลักลูกสูบที่ลูกสูบและรูสลักที่ปลายด้านสูบ
- ถ้ารูสลักที่ลูกสูบสึกหรอผิดปกติให้เปลี่ยลูกสูบใหม่
- ถ้ารูสลักที่ปลายก้านสูบสึกหรอมากให้เปลี่ยนก้านสูบใหม่
- ตรวจดูผิวภายนอกของสลักลูกสูบ
- ถ้าสลักลูกสูบมีรอยไหม้หรือสึกหรอมากต้องเปลี่ยนสลักลูกสูบใหม่


การประกอบเสื้อสูบ Kawasaki KR150R
- ประกอบย้อนการถอด
- ตรวจดูความเสียหายของปะเก็นบู๊ชก้านเลี่ยนลิ้น ถ้าชำรุดต้องเปลี่ยนใหม่
- ใช้จาระบีโมลิบดินั่มทาด้านนของชุดซีลก้าน
- เปลี่ยนปะเก็นฝาครอบใหม่
- ตรวจดูสลักบู๊ชที่ฐานเสื้อสูบด้านขวาว่าอยู่ในตำแหน่งที่ถูกต้องหรือไม่
- เปลี่ยนปะเก็นเสื้อสูบตัวล่าง
- ใช้น้ำมันเครื่องหล่อลื่นผิวหน้าลูกสูบ แหวนลูกสูบและกระบอกสูบ
- ตรวจดูสลักในร่องแหวนลูกสูบต้องอยู่ระหว่างปลายของแหวนลูกสูบ และแหวนทั้งสองตัวต้องไม่ใหญ่กว่าฐานของกระบอกสูบ กดด้านตรงข้ามที่เราต้องการและต้องแน่ใจว่าแหวนไม่หลุดออกจากตำแหน่ง
- ขันนอตยึกฝาสูบด้วยแรงบอดที่กำหนด (ดูจากภาพแสดงชิ้นส่วน)
- เปลี่ยนปะเก็นฝาครอบชุด KIPS
- เมื่อติดตั้งขาเลื่อนก้าน ขันนอตยึดขาเลื่อนก้านตามค่าแรงบิดที่กำหนด และดันก้านเลื่อนลิ้นไปทางด้านใน


การประกอบลิ้นไอเสีย Kawasaki KR150R
- ประกอบย้อนลำดับการถอด
- ขูดเขม่าและทำความสะอาดด้วยน้ำมันเบนซิน
- ตรวจเช็คลิ้นไอเสียและก้านเลื่อนลิ้นถ้าเสียหายควรเปลี่ยนใหม่
- ตรวจเช็คโอริงของบู๊ชประคองลิ้นไอเสียและบู๊ชก้านเลื่อนลิ้น ถ้าเสียหายควรเปลี่ยนใหม่
- ลิ้นไอเสียข้างซ้ายและขวาเหมือนกันสามารถสลับกันได้
- ใช้จาระบีโอลิบดินั่มทาชิ้นส่วนดังนี้ ปลายด้านบน-ล่างของลิ้นไอเสีย ฟันเฟืองลิ้นไอเสีย บู๊ชประคองลิ้นไอเสียด้านใน บู๊ชก้านเลื่อนลิ้นปลายก้านเลื่อนลิ้นด้านซ้าย
- ปรับตำแหน่งของลิ้นไอเสียไปในตำแหน่งที่เหมาะสมเพื่อปฏิบัติตามนี้
- ใส่ก้านเลื่อนลิ้นเข้ากับฝาสูบ หลังจากประกอบฝาปิดก้านเลื่อนลิ้นแล้วให้ดึงก้านเลื่อนลิ้นมาทางขวา
- จัดมาร์คบนฟันเฟืองของลิ้นไอเสียกับร่องบนก้านเลื่อนลิ้นให้ตรงกัน
- ประกอบบู๊ชประคองลิ้นไอเสียและบู๊ชก้านเลื่อนลิ้น แล้วทำการตรวจเช็คการทำงานโดยการดึงหรือดันก้านเสื้อลิ้น
- ประกอบขาเลื่อนก้านและขันนอตยึดขาเลื่อนก้านตามค่าแรงบิดที่กำหนด

การถอดฝาครอบเครื่องยนต์ด้านขวา Kawasaki KR150R


อธิบายภาพ
1.แผ่นเหล็กครัตช์
2. แผ่นคลัตช์
G.ใช้จาระชนิดทนความร้อนสูง
O.ใช้น้ำมันเครื่องชะโลม
L.ใช้น้ำยาล๊อคเกลียว
M.ใช้จาระบีโมลิบินั่ม
T1. 8.0 นิวตัน-เมตร
T2. 3.9 นิวตัน-เมตร
T3. 9.8 นิวตัน-เมตร
T4. 15 นิวตัน-เมตร
T5. 64 นิวตัน-เมตร


การถอดแยกชุดควบคุมไอเสีย Kawasaki KR150R
1.ยางกันฝุ่น
2.นอตยึด
3.ขาเลื่อนเพลา
4.สกรู
5.แกนชุด KIPS
6.สลักล๊อกเพลา
7.บู๊ช
8.สลัก
9.สลัก
10.ลูกปืน
11.แกนกาวานา
12.รองลูกปืน
13.โอริง
14.ลูกปืนกาวานา
15.ฝาครอบลูกปืนกาวานา
16.แหวนรอง
17.ขาเลื่อนเพลา-ล่าง
18.บู๊ช
19.แหวนรองสปริง
20.สปริง
21.เฟืองขับชุดกาวานา
22.ลูกปืน
23.โบลท์ยึดขาเลื่อนเพลา-ล่าง



การถอดแยกชุดคันสตาร์ท Kawasaki KR150R
1.คลิปล็อค
2.เฟืองเกียร์สตาร์ท
3.ฟันจับเฟืองสตาร์ท
4.สปริง
5.แหวนล็อค
6.เพลาแกนสตาร์ท

ข้อควรระวัง : เมื่อทำการประกอบฟันเฟืองสตาร์ทเข้ากับเพลาแกนสตาร์ทร่องบอกบนฟันจับเดฟืองสตาร์ทจะต้องตรงกับรูบนเพลาแกนเฟืองสตาร์ท


การถอดเพลาข้อเหวียงและชุดเกียร์ Kawasaki KR150R
1.ด้านซีลข้าง
64 นิวตัน-เมตร
15 นิวตัน-เมตร
20 นิวตัน-เมตร
9.8 นิวตัน-เมตร
G.ใช้จาระบีโมลิบดินั่ม
O.ใช้น้ำมันเครื่อง 2 จังหวะ
TO.ใช้น้ำมันสำหรับเกียร์และชุดก้ามปู
LG.ใช้ปะเก็นเหลว (คาวาซากิบอนด์ 92104-002) ทำให้หน้าสัมพัสของเสื้อเกียร์ทั้งซ้ายและขวา
L.ใช้น้ำยาล็อคเกียวทาที่เกลียว

ข้อแนะนำ
- การประกอบชุดเพลาข้อเหวี่ยงต้องใช้ความสะอาดพอประมาณ ดังนั้นการแนกเพลาข้อเหวี่ยงจะทำได้เฉพาะร้านที่มีเครื่องมือและอุปกรณ์พร้อมเท่านั้น
- ไม่ควรถอดลูกปืนข้อเหวี่ยงถ้าไม่จำเป็น เพราะถ้าถอดอาจชำรุดได้
- ก่อนประกอบซิลข้อเหวี่ยงควรทาด้วยจาระบีทนความร้องสูงก่อน
- ประกอบลูกปืนเพลาขับและกระปุกเกียร์ทางด้านแคร็งค์ขวา ซึ่งทั้งสองจะมีซิลอยู่ทางด้านฝาครอบเครื่องยนต์ด้านขวาด้วย ประกอบซิลน้ำมันของแกนเปลี่ยนเกียร์เข้าทางด้านขวาของแคร็งค์ ซึ่งจะมีสปริงล็อคแกนเลื่อนเกียร์อยู่ทางด้านซีกซ้ายของฝาครอบเครื่องยนต์ด้านขวาเช่นเดียวกัน



การถอดชุดสมดุล Kawasaki KR150R
- ถอดฝาครอบปลายเพลาตุ้มสมดุลด้านซ้ายของแคร็งค์เครื่องยนต์ออก โดยการคลายโบลท์ยึดทั้งหมดออก A คลายโบลท์ตัวกลางออก B และหาโบลท์ที่มีขนาดเกลียวเดียวกัน แต่ตัวยาวกว่าขันอัดเข้าไปเพื่อให้ฝาครอบลอยตัวออกมาเอง
- คลายนอตล็อคเฟืองชุดสมดุลและถอดเฟืองชุดสมดุลออก
- ดึงเพลาตุ้มสมดุลออกทางด้านซ้ายของเครื่องยนต์ โดยการหมุนหาตำแหน่งที่เหมาะสม
- ถอดแผ่นกันลูกปืนออก A
- ถอดลูกปืนชุดสมดุลออกโดยการอัด

ข้อแนะนำการประกอบชุดสมดุล Kawasaki KR150R
- ประกอบย้อนลำดับการถอด
- อัดลูกปืนชุดสมดุลเข้าโดยใช้ตัวตอกลูกปืนอัดเข้าทางด้านข้างให้ขอบเสมอกับผิวแคร็งค์เครื่องยนต์
- ประกอบแผ่นกั้นลูกปืน
- ประกอบเฟืองชุดสมดุลกับเฟืองไพรมารี่ให้เครื่องหมายตรงกัน
A.เครื่องหมายบนเฟืองไพรมารี่
B.เครื่องหมายบนเฟืองชุดสมดุล.



การถอดเพลาเกียร์ Kawasaki KR150R
- ดึงแกนก้ามปูและเดือยก้ามปูออกจากร่องกระปุกเกียร์
- นำกระปุกเกียร์ออก
- ถอดก้ามปูออกจากเฟืองเกียร์
- ถอดเพลาขับและเพลากำลังออกด้วยกันพร้องทั้งเฟืองเกียร์
- ใช้คีมถ่าง ถอดคลิปล็อค เพื่อทำการแยกเพลาเกียร์


การประกอบชุดเพลาเกียร์ Kawasaki KR150R
- ประกอบน้อยลำดับการถอด
- ชโลมน้ำมันหล่อลื่นเกียร์ที่เพลาเกียร์และลูกปืน
- เปลี่ยนคลิปล็อคที่ถอดด้วยตัวใหม่
- การประกอบคลิปล็อคให้ลงในร่องบากเสมอ โดยการถ่างคลิปล็อคออก สวมเข้ากับเพลาและเลื่อนเข้าไปให้ลงร่องพอดี
- เฟืองเกียร์บนเพลาขับ สามารถจะบอกเป็นขนาดดังนี้ ขนาดเล็กสูกเป็นเกียร์ 1 และใหญ่สุดเป็นเกียร์ 6 แต่เพื่อความแน่ใจในการประกอบให้ถูกต้องสามารถดูได้ดังนี้ ลำดับจากด้านในสุดของเพลาขับ

1. เกียร์ 1 10 ฟันเป็นชิ้นเดียวกับเพลา
2. เกียร์ 2 21 ฟัน หมุนอิสระบนเพลา
3. เกียร์ 3/4 20 22 ฟัน เป็นร่องล็อคติดกับเพลา
4. เกียร์ 6 23 ฟัน หมุนอิสระบนเพลา
5. เกียร์ 2 17 ฟัน หมุนอิสระบนเพลา

- โครงสร้างเริ่มจากเกียร์ 1 (เป็นชิ้นเดียวกับเพลาขับ) เกียร์ 5 (หน้าแปลนด้านซ้ายเป็นรู) คลิปล็อค เกียร์ 3/4 (เกียร์ 3 อยู่ด้านขวา) เกียร์ 6 (หน้าแปลนด้านขวาเป็นรู) เกียร์ 2 (ฟันเฟืองที่ถูกลบมุมจะอยู่ทางด้านซ้าย) และ ปิดท้ายด้วยคลิปล็อค

- เฟืองเกียร์บนเพลากำลัง สามารถบอกเป็นขนาดได้ดังนี้ ขนาดใหญ่สุดเป็นเกียร์ 1 ขนาดเล็กสุดเป็นเกียร์ 6 แต่เพื่อความควมแน่ใจในการประกอบให้ถูกต้อง สามารถดูได้ดังนี้ ลำดับเรียงจากด้านในสุดของเพลากำลัง

1.เกียร์ 2 29 ฟัน หมุนอิสระบนเพลา
2. เกียร์ 6 19 ฟัน เป็นร่องล็อคติดกับเพลา
3. เกียร์ 4 24 ฟัน หมุนอิสระบนเพลา
4. เกียร์ 3 26 ฟัน หมุนอิสระบนเพลา
5. เกียร์ 5 20 ฟัน เป็นร่องล็อคติดกับเพลา
6. เกียร์ 1 27 ฟัน หมุนอิสระบนเพลา

- โครงสร้างเริ่มจากเกียร์ 2 (หน้าแปลนด้านซ้ายจะเรียบ) คลิปล็อค เกียร์ 6 (ด้านขวาจะเป็นร่องก้ามปู) คลิปล็อค เกียร์ 4 (หน้าแปลนด้านซ้ายจะเป็นรู) คลิปล๊อค เกียร์ 5 (ด้านซ้ายจะเป็นร่องก้ามปู) เกียร์ 1 (หน้าแปลนด้านขวาจะเรียบ)
- เช็คเฟืองเกียร์จะหมุนและเลื่อนตัวได้อิสระบนเพลาเกียร์ หลังประกอบเสร็จ

การประกอบกระปุกเกียร์และก้ามปู Kawasaki KR150R
- ชโลมน้ำมันเกียร์เล็กน้อยลงบนหูก้ามปูและส่วนที่ยึดกับร่องเกียร์
- ใส่สลักก้ามปูเข้ายังร่องกระปุกเกียร์
- ชโลมน้ำมันลงบนแกนก้ามปูและใส่ลงในรูก้ามปู


ข้อสังเกตุของก้ามปู Kawasaki KR150R
- ก้ามปูเกียร์ 5 เพลากำลัง หูก้ามปูจะอยู่ตรงกลางของโครง
- ก้ามปู 3/4 เพลาขับ หูก้ามปูจะสั้นกว่าอีก 2 ตัว
- ก้ามปูเกียร์ 6 เพลากำลัง หูก้ามปูจะอยู่ริมของโครง

ภาพแสดงชิ้นส่วน Kawasaki KR150R



1.เครื่องหมาย TOP
2.หัวเทียน
3.เครื่องหมาย R
4.ลูกศรชี้ไปทางด้ามหน้าเครื่อง
O.ใช้น้ำมันเครื่องชโลมหน้าสัมพัส
M.ใช้สาระบีโมลิดินั่ม
G.ใช้จารบีชนิดทนความร้อนสูง
T1. 7.4 นิวตัน-เมตร
T2. 27 นิวตัน-เมตร
T3. 25 นิวตัน-เมตร