้เรื่อง HOT วันนี้

การซ่อมสีรถมอเตอร์ไซด์


             ขึ้นชื่อว่ามอเตอร์ไซด์ นอกเหนือจากระบบเครื่องยนต์ที่เป็นต้นกำลัง และระบบเฟรมแล้วนั้น ยังประกอบด้วยชิ้นส่วนอื่นๆอีกมากมาย อย่างเช่น ล้อบังโคลนและือื่นๆ แต่สิ่งหนึ่งที่ขาดไม่ได้เลยคือสีสันบนตัวรถ หรือถ้าเปรียบแล้วนั้น สีสันบนมอเตอร์ไซด์ของเราก็คือเสื้อผ้าที่คนเราสวมใส่อยู่นั่นเอง แถมยังทำให้เกิดความสวยงามกลมกลืนอีกด้วย  นอกเหนือจากการสร้างสีสันบนมอเตอร์ไซด์แล้ว สีสันบนมอเตอร์ไซด์ยังเป็นสิ่งที่ชัดจูงให้ผู้นั้นตัดสินใจซื้อมอเตอร์ไซด์รุ่นนั้นๆด้วย ดังนั้นแต่ละบริษัทจึงได้คิดออกแบบสีสันต่างๆเพื่ออกมาล้อตาล้อใจลูกค้า 



              การเลือกสีสันธรรมดาหรือสีสันที่แปลกใหม่ก็ตามที่สิ่งที่เป็นปัญหาสำหรับผู้ใช้มอเตอร์ไซด์ก็คือเมื่อถึงคราวที่เกิดอุบัติเหตุหรือเกิดข้อผิดพลาดทางเทคนิคขึ้นจนทำให้สีสันบนตัวรถนั้นเสียหาย จะแก้ไขอย่างไร เพราะชิ้นส่วนอื่นๆบนตัวรถจะซ่อมแก้ไขได้ไม่ยากก็ตามแต่สำหรับเรื่องสีสันนั้นไม่ใช่เรื่องง่ายๆเหมือนส่วนอื่นๆ เพราะต้องใช้ช่างเทคนิคเฉพาะทางที่รับจ้างทำสีรถ ซึ่งไม่ใช่เรื่องง่ายเลย เพราะการทำสีรถจำเป็นต้องใช้เวลาและทุนทรัพย์มากพอสมควรถึงจะได้งานออกมาดีตามที่ใจเราต้องการ



ขั้นตอนการทำสีรถมอเตอร์ไซด์

- ลอกสีเดิมออก
- ดูดถังในกรณีที่มีรอยบุบ
- นำไปขัดด้วยกระดาษทรายน้ำเพื่อล้างสนิม
- โป๊วหยาบ
- ขัดเรียบ
- โป๊วเก็บก่อนพ่นสี
- ลงสีพื้น
- พ่นสีจริง
- อบในห้องอบหรือผึ่งแดด
- ติดสติ๊กเกอร์
- พ่นแล๊กเกอร์เคลือเงา
- นำไปอบหรือผึ่งอีกครั้ง

ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนในการทำสีรถ ต่อไปเราจะมาลงถึงรายละเอียดแต่ละขั้นตอนเป็นเทคนิคต่างๆของแต่ละขั้นตอนกัน


การลอกสี

ขั้นตอนแรกในการปฏิบัติคือการลอกสีออกจากถังเดิมให้หมด โดนเริ่มด้วยการเอาแก๊ซเป่าให้สีเดิมลอกออกให้หมด ยิ่งถึงผิดเหล็กมากเท่าไหร่ยิ่งดี เพราะจะช่วยให้สีโป๊วยึดติดกับเนื้อเหล็กได้ดียิ่งขึ้น




ดูดถังและเคาะให้เรียบร้อย

หลังจากที่ลอกสีออกจนหมดแล้ว ในกรณีที่ถังน้ำมันมีรอยบุบจะจัดการดูดถังน้ำมันด้วยเครื่องมือรูปร่างหน้าตาอย่างในรูป อันที่จริงเรียกว่าดูดก็ไม่ถูก เพราะจะใช้เครื่องมือรูปร่างโค้งงอนี้ สอดเข้าไปทางรูเติมน้ำมัน แล้วก็เคาะให้รอยบุบนั้นดีดตัวขึ้นจนเข้ารูป มีบางแห่งที่ทำกันอย่างลวกๆ ด้วยการใช้สีโป๊วอุดตรงรอยบุบนั้นโดยไม่มีการลอกสี ทำให้มีโอกาศที่บริเวณนั้นเกิดการบวมขึ้น ในจุดนี้ต้องระวังกันเป็นพิเศษ ถ้าเลี่ยงได้ควรเลี่ยง เพื่อที่จะไม่เสี่ยงให้สีถังบวมและน่าเกลียด


ขัดน้ำ

หลังจากที่ลอกสีและดูดถังเรียบร้อยแล้ว คราวนี้ต้องโยนลงอ่างเพื่อขัดด้วยกระดาษทรายอีกครั้ง ที่ต้องลงไปในอ่างน้ำเพราะการขัดนี้มีจุดหมายที่จะขัดสนิมออกให้หมด เพราะหากมีสนิมเกาะจับอยู่บนผิวเหล็ก และเมื่อโป๊วสีทับลงไป นานวันเข้า สนิมเหล่านี้จะขยายลุกลามจนทำให้เกิดความเสียหายกันสีถังได้ ดังนั้นจึงต้องระมัดระวังต้องไล่ขัดสนิมออกให้หมด ก่อนที่จะลงมือในขั้นตอนต่อไป




การโป๊ว

เมื่อขัดล้างไปจนสนิมออกจากผิวเหล็กจนหมดแล้ว ขั้นต่อไปคือการโป๊วหยาบเพื่อปรับพื้นที่บนผิวถังน้ำมันให้เรียบ หลังจากที่โป๊วเรียบแล้วก็จะทิ้งเอาไว้ครึ่งถึงหนึ่งชั่วโมงเพื่อให้สีโป๊วแห้ง จากนั้นจะเป็นการขัดด้วยกระดาษทรายอีกครั้งเพื่อช่วยให้ผิวงานราบเรียบ หลังจากนั้นก็ถึงขั้นตอบในการโป๊วเพื่อเก็บรอเวลาพ่นสี ซึ่งการโป๊วเก็บนี้เป็นขั้นตอนสุดท้าย ก่อนที่จะส่งไปยังห้องพ่นสี

การลงสีพื้น
เมื่อทำการโป๊วเก็บจนพร้อมที่จะพ่นสีแล้วก็จะส่งไปยังห้องพ่นสี แต่ในส่วนของการโป๊วสีนั้นจะยุ่งยากเสียหน่อยสำหรับผู้ที่จะลงมือทำเอง เพราะฉะนั้นจึงอยากแนะนำให้ส่งเข้าอู่เคาะพ่นสีเข้ารับภาระแทน เมื่อโป๊วเรียบร้อยแล้วก็คงต้องลงสีพื้นกันแหละ แต่ก็ต้องหาสีพื้นที่มีโทนสีใกล้เคียงกับสีจริง เพราะถ้าใช้โทนสีที่แตกต่างกันมาก จะทำให้สีจริงเพี๊ยนเมื่อพ่นแล้ว ดังนั้นจึงควรพิจารณาสีพื้นให้ดี เท่าที่นยมกันก็เห็นจะมีแต่สีเทาเท่านั้น แต่ก็ไม่ตายตัว คุณๆสามารถใช้สีพื้นอื่นๆที่ใกล้เคียงกับสีจริงได้อย่างไม่มีปัญหา หลังจากลงสีพื้นเรียบร้อยแล้วก็เก็บแต่งรายละเอียดอีกนิดหน่อยเพื่อให้ผิวหน้าของถังน้ำมันเรียบจริงๆ


การลงสีจริง

เมื่อลงสีพื้นและเก็บรายละเอียดเรียบร้อยแล้วขั้นต่อไปคือการลงสีจริง สำหรับสีจริงนี้ต้องใช้สีที่เบอร์เดียวกันกับโรงงาน มิฉะนั้นแล้วจะทำให้สีที่ออกมาแตกต่างจากสีเดิมได้ หลังจากที่ลงสีจริงเรียบร้อยแล้วก็ส่งเข้าห้องอบ หรือผึ่งแดด เพื่อให้สีแห้งเร็วและติดทนนานยิ่งขึ้น

การติดสติ๊กเกอร์ 

เมื่อสีแห้งเรียบร้อยแล้วก็ถึงคิวในการติดสติ๊กเกอร์กันแหละ สติ๊กเกอร์มอเตอร์ไซด์แต่ละรุ่นก็จะมีอยู่ขายตามร้านขายอะไหล่มอเตอร์ไซด์ทั่วไป โดยจะมีมาเป็นชุดๆ หลังจากนั้นเราก็กะระยะและติดลงบนถังน้ำมันได้เลย



การเคลือบเงา

เมื่อติดสติ๊กเกอร์แล้วเราก็จะทำการใช้แล๊กเกอร์พ่นเคลือบอีกครั้ง ซึ่งในขั้นตอนนี้ภาษาช่างเรียบว่าเคลือบเงา เมื่อผ่านขั้นตอนการเคลือบเงาแล้วก็เป็นอันว่าเสร็จสิ้นในการทำสีถังน้ำมัน

             ทั้งหมดนี้คือขั้นตอนโดยละเอียด ของการพ่นสีมอเตอร์ไซด์ สำหรับชิ้นส่วนอื่นๆ ฝาข้างถัง หน้ากาก หรือแฟริ่ง (อกไก่) ด้าล่างเครื่องยนต์นั้นก็ใช้ขั้นตอนเดียวกัน จะต่างกันก็คือขั้นตอนในการขัดสนิมหลังจากดูดถังเท่านั้น เพราะชิ้นส่วนเหล่านี้เป็นพลาสติกนั่นเอง



เครดิต : คู่มือซ่อมบำรุง 90

-