มอเตอร์ไซด์ 2 จังหวะทุกๆคันนั้น เมื่อใช้ไปสักระยะหนึ่งจะเกิดการสึกหลอตามอายุการใช้งาน ส่งผลทำให้การใช้งานของชิ้นส่วนดังกล่าว คลาดเคลื่อนไม่ถูกต้อง ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการขับขี่ลดน้อยลง ซึ่งหากปล่อยเลยตามเลยโดนไม่มีการบำรุงรักษา ตามระยะเวลาที่กำหนดมาจากโรงงาน ก็ส่งผลให้ชิ้นส่วนต่างๆในมอเตอร์ไซด์ 2 จังหวะสึกหรอได้หรือเสียให้ในเวลาที่รวดเร็ว ดังนั้น การบำรุงรักษา จึงเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่งสำหรับมอเตอร์ไซด์ทุกคัน
น้ำมันเครื่องหรือน้ำมันหล่อลื่นเกียร์ เพื่อช่วยให้เกียร์และครัชทำงานอย่างมาประสิทธิภาพอยู่เสมอ ควรจะดูแลระดับน้ำมันเกียร์ให้อยู่ในระดับที่ถูกต้อง และเปลี่ยนถ่ายตามระยะการบำรุงรักษา และถ้าใช้รถในขณะที่มีน้ำมันเกียร์น้อย หรือใช้น้ำมันเกียร์คุณภาพต่ำหรือน้ำมันเกียร์ที่สกปรก จะทำให้เฟืองเกียร์และครัตช์สึกหรอได้อย่างรวดเร็ว หรือทำให้ครัตช์หรือเกียร์ไหม้ อาจทำให้เกิดอันตรายในการขับขี่ได้
หัวเทียน ถ้าหัวเทียนมีคราบเขม่าจับมากให้ทำความสะอาดโดยใช้เครื่องล้างหัวเทียน แล้วนำไปล้างทำความสะอาดด้วยน้ำมันเบนซิน แล้วปัดด้วยแปรงทองเหลือพร้อมวัดระยะห่างของเขี้ยวตามค่าที่กำหนดมากับรถ ถ้าเขี้ยวแกนกลางสึกหรอมาก หรือกระเบื้องฉนวนแตกร้าว ให้เปลี่ยนหัวเทียนใหม่
หม้อกรองอากาศ ใส้กรองอากาศที่สกปรกหรืออุดตัน จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง เครื่องยนต์ไม่มีกำลัง และหัวเทียนบอดง่าย ใส้กรองอากาศจะต้องทำความสะอาดและเปลี่ยนตามระยะเวลาที่กำหนดในตารางบำรุงรักษาของรถมอเตอร์ไซด์คันนั้นๆ ถ้าใช้รถในทางที่มีฝุ่นมากจะต้องทำความสะอาดไส้กรองอากาศให้บ่อยขึ้น ถ้าไส้กรองฉีกขาดจะต้องเปลี่ยนใหม่ทันที
สายคันเร่ง สายเร่งจะทำหน้าที่เร่งและเบาเครื่องยนต์และปั้นน้ำมันหล่อลื่นให้ทำงานสัมพันธ์กัน กับความเร็วรอบของเครื่อง ควรจะปรับตั้งและตรวจเช็คสายคันเร่ง ตามตารางระยะเวลาการบำรุงรักษา
การตรวจเช็คสายคันเร่ง
- ตรวจดูปลายของปลอกสายคันเร่งว่า ประกอบเข้าที่อยู่ในร่องชุดปรับตัวที่คาร์บูเรเตอร์หรือไม่
- ตรวจเช็คระยะฟรีของปลอกคันเร่งขณะปิดคันเร่งจะต้องมีระยะฟรี 2-3 มม.ถ้าผิดจากนี้ต้องปรับตั้งใหม่
การปรับระยะฟรี
- คลายน๊อตล๊อก A ที่สายคันเร่ง และหมุนน๊อตปรับ B จนกระทั่งได้ระยะฟรี 2-3 มม. ขันน๊อต A ให้แน่น
สายเร่งปั้มน้ำมันหล่อลื่น
- เช็คดูปลอกนอกของสายปั้มว่า สวมอยู่ในบ่าของตัวปรับถูกต้องหรือไม่ และตรวจดูสายเร่งปั้มว่าสวมอยู่ในร่องของแขนคันเร่งปั๊มเรียบร้อยหรือแน่นหรือไม่
- เช็คดูความัมพันธ์ของปั๊นน้ำมันกับคาร์บูเรเตอร์ขณะเดินเบาเครื่องยนต์โดนการบิดคันเร่งช้าๆและฟังเสียงเครื่องยนต์ เมื่อเครื่องเริ่มเร่งให้ถอนคันเร่ง
- ไม่ต้องบิดคันเร่งและตรวจดูมาร์คที่คันเร่งปั้มกับมาร์คที่เสื้อปั้ม จะต้องตรงกัน ถ้าไม่ตรงกันต้องทำการปรับต้องใหม่
การปรับตั้งปั้ม
- ติดเครื่องยนต์
- คลายน๊อตล๊อกที่ตั้งปรับตั้งที่สายเร่งปั้ม และหมุนตัวปรับจนกระทั้งเครื่องหมายมาร์คบนคันเร่งปั้มตรงกับมาร์คที่เสื้อปั้มในขณะที่เครื่องยนต์เริ่มเร่ง
- ขันน๊อตให้แน่น
- ตรวจเช๊คระยะฟรีของปลอกคันเร่ง
- ปิดฝาครอบปั้ม
คาร์บูเรเตอร์
ขั้นตอนต่อไปนี้จะเป็นวิธีการตรวจเช็คความเร็วรอบเดินเบาของเครื่องยนต์ ซึ่งจะกระทำเมื่อทำการตรวจซ่อมบำรุงรักษา ตามตารางการบำรุงรักษา หรืิอเมื่อเครื่องยนต์มีอาการเดินเบาผิดปกติ เมื่อเครื่องยนต์เดินเบารอบต่ำเกินไปจะทำให้เครื่องยนต์ดับได้ง่าย ถ้าเครื่องยนต์เดินเบารอบสูงเกินไปก็จะทำให้สิ้นเปลืองน้ำมันเชื้อเพลิง และผลที่ตามมาคือทำให้การควบคุมรถขณะขับขี่ยากมากขึ้น
การตรวจเช็คคาร์บูเรเตอร์
- ติดเครื่องยนต์และอุ่นเครื่องยนต์ไว้ 5 นาที
- ความเร็วรอบเครื่องเดินเบาส่วนใหญ่อยู่ที่ 1200-1300 รอบ/นาที
- ถ้าความเร็วรอบเดินเบาต่างไปจากนี้ให้ทำการปรับตั้งใหม่โดยการหมุนสกรูปรับเดินเบาที่คาร์บูเรเตอร์
ควรตรวจการสึกหรอของแผ่นคลัตช์และปรับตั้งสายคลัตช์เมื่อใช้รถเป็นระยะเวลานานๆ คลัตช์ควรได้รับการตรวจเช็คตามตารางระยะเวลาการบำรุงรักษา
คำเตือน : ระวังความร้อน ไม่ควรแตะเครื่องยนต์ , ท่อไอเสีย ในระหว่างที่ปรับตั้งคลัตช์ขณะเครื่องร้อน
ขั้นตอนการตรวจเช็คคลัตช์
- เช็คระยะฟรีของสายคลัตช์ให้อยู่ช่วง 2-3 มม
- ถ้าระยะฟรีของคลัตช์ไม่ถูกต้องให้ปรับตั้งใหม่
เบรค
ระยะฟรีเบรคหน้าแบบดรัมเบรค
- ปรับตั้งเบรคหน้าแบบดรัมเบรคโดยการหมุนน๊อตปรับระยะเบรคที่ปลายสายเบรคให้มีระยะฟรีของก้านเบรคประมาณ 4-5 มม.
- ตรวจการทำงานโดยการบีบก้านเบรคหลายๆครั้งเมื่อปล่อยก้านเบรคจะต้องคืนกลับเข้าที่เดิม
- หมุนล้อหน้าดูว่าผ้าเบรกเสียดสีกับดุมหรือไม่ ถ้ามีอาการเบรคติด ต้องคลายน๊อตปรับระยะเบรค
เบรคหลัง
- ระยะฟรีเบรคหลังจะมีประมาณ 20-30 มม. ทดสอบโดยใช้เท้ากดขาเบรคหลังเบาๆ
- หมุนล้อตรวจดูอาการเบรคติด
- ตรวจดูมุมของขาลูกเบี้ยวเบรค
- กดขาเบรค 2-3 ครั้ง ดูการทำงานและการคืนกลับของขาเบรคจะต้องคืนกลับทันทีที่ปล่อย
- เช็คประสิทธิภาพการเบรค
คำเตือน : ถ้าเบรคไม่อยู่ ให้ถอดดูผ้าเบรคว่าสึกมากหรือชำรุดหรือไม่ ถ้าเบรคแล้วขาเบรคคืนกลับช้าให้เช็คที่กลไกและสปริงค์
สวิตช์ไฟเบรค
เมื่อเราใช้เบรคหน้าหรือเบรคหลังสัญญาณไฟเบรคจะทำงาน สวิตช์ไฟเบรคหลังจะต้องปรับตั้งตามตารางระยะเวลาการบำรุงรักษา
การตรวจเช็คสวิตช์ไฟเบรค
- เปิดสวิตช์กุญแจ
- ไฟเบรคจะติดเมื่อบีบมือเบรค
- ถ้าไฟเบรคไม่ติดให้ตรวจเช็ควงจรไฟเบรกหน้า
- เช็คการทำงานของสวิตช์ไฟเบรคหลังโดยการเหยียบขาเบรคหลัง ไฟเบรคจะต้องติดหลังจากกดขาเบรคหลังไป 15 มม.
โช๊คหน้า
การทำความสะอาดโช๊คหน้า
ฝุ่นละออง และทรายอาจผ่านซีลกันฝุ่นเข้าไปและจะทำความเีสียหายให้กับซีลกันน้ำมัน และทำให้น้ำมันรั่วได้ จึงจำเป็นต้องทำความสะอาจซีลกันฝุุ่นตามตารางระยะเวลาการบำรุงรักษา
- เลื่อนซีลกันฝุ่นขึ้น และใช้ผ้าสะอาดเช็ดฝุ่น และทรายที่ติดอยู่ที่ิลกันน้ำมันและแกนโช๊ค ระวังอย่าให้แกนโชคเป็นรอย
แบตเตอรี่
ตรวจเช็คระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่
ระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่จะต้องรักษาให้อยู่ในระดับระหว่างขีดบนสุดและระดับขีดล่างสุด ตรวจเช็คระดับน้ำกรดของแบตเตอรี่แต่ละช่วงตามตารางระยะเวลาการบำรุงรักษา
วิธีการตรวจเช็ค
- ถอดฝาครอบตัวถัง
- ตรวจเช็คระดับน้ำกรดในแบตเตอรี่แต่ละช่วง จะต้องอยู่ระหว่างขีดบนสุดกับขีดล่างสุด
- ถ้าระดับน้ำกรดช่องใดช่องหนึ่งต่ำให้ใช้น้ำกลั่นเติมให้ได้ระดับ
- ถอดแบตเตอรี่ออกจากตัวรถ
- ถอดฝาจุกเติมออก เติมน้ำกลั่นให้ได้ระดับขีดบนสุดทุกช่อง
ข้อควรระวัง : เติมแต่น้ำกลั่นบริสุทธิเท่านั้นห้ามใช้น้ำชนิดอื่นเติมแบตเตอรี่ เพราะจะทำให้อายุการใช้งานของแบตเตอรี่สั้นลง.
ระบบน้ำมันเชื้อเพลิง
ความชื้นและสิ่งสกปรกที่สะสมอยู่ในระบบน้ำมันเชื้อเพลิงจะทำให้น้ำมันเชื้อเพลิงไหลไม่สะดวกและเป็นสาเหตุให้คาร์บูเรเตอร์ทำงานผิดปกติ ระบบเชื้อเพลิงควรได้รับการตรวจเช็คตามตารางระยะเวลาการบำรุงรักษา
คำเตือน
- ควรตรวจเช็คระบบน้ำมันเชื้อเพลิงในบริเวณที่อากาศถ่ายเทได้ดี และระวังอย่าให้เกิดประกายไฟในบริเวณใกล้เคียงกับที่ทำงาน
- อย่าตรวจเช็คระบบน้ำมันเชื้อเพลิงขณะที่เครื่องยนต์ยังร้อนอยู่
- เช็ดทำความสะอาดน้ำมันเชื้อเพลิงที่หกเลอะเครื่องยนต์ก่อนทำการสตาร์ทเครื่อง
การตรวจเช็คและทำความสะอาด
- ถอดคาร์บูเรเตอร์ออกจากตัวรถ
- ถอดลูกลอยออกจากคาร์บูเรเตอร์
- ถอดแยกชิ้นส่วนคาร์บูเรเตอร์เพื่อทำความสะอาดช่องทางน้ำมันและช่องอากาศ
ข้อควรระวัง
- ถอดลูกลอยออกก่อนที่จะใช้ลมเป่าทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์
- ถอดชิ้นส่วนของคาร์บูเรเตอร์ที่เป็นพลาสติก ยาง เท่าที่จะถอดได้ ก่อนที่จะนำคาร์บูเรเตอร์ไปล้างในน้ำยาทำความสะอาดคาร์บูเรเตอร์ เพราะจะทำให้ชิ้นส่วนที่เป็นพลาสติกและยางเสียหายบิดเบี้ยวได้
- ถ้ากรณีที่ชิ้นส่วนของคาร์บูเรเตอร์ที่เป็นพลาสติกไม่สามารถถอดออกได้ ห้ามใช้น้ำตาชนิดเข้มข้นทำความสะอาด
- ห้ามใช้ลวดแยงทำความสะอาดนมหนูต่างๆ
- ทำความสะอาดชิ้นส่วนต่างๆของคาร์บูเรเตอร์ และช่องทางอากาศ ช่องทางน้ำมันแล้วใช้ลมเป่า
- ประกอบและติดตั้งคาร์บูเรเตอร์กลับเข้าที่เดิม
การเปลี่ยนท่อน้ำมันเชื้อเพลิง
- ในตารางระยะเวลาการบำรุงรักษาให้เปลี่ยนท่อน้ำมันเชื้อเพลิงทุกๆ 4 ปี
- เปลี่ยนท่อน้ำมันเชื้อเพลิงที่เชื่อมต่อระหว่างคาร์บูเรเตอร์กับก๊อกน้ำมัน รวมทั้งเปลี่ยนแค้มรัดท่อใหม่
- ตรวจเช็ครอยรั่วของท่อ
การหล่อลื่นทั่วไป
การหล่อลื่นจุดต่างๆที่แสดงให้เห็นนี้ให้ใช้น้ำมันหล่อลื่นหรือจารบี หล่อลื่นตามตารางระยะเวลาการบำรุงรักษา สำหรับรถที่ใช้ในสภาพเปียกชื้อหรือหน้าฝนจะต้องใช้เครื่องฉีดล้างทำความสะอาดรถทั้งคันก่อนทำการหล่อลื่น
การทำการหล่อลื่นจุดต่างๆให้ทำความสะอาดจุดที่เป็นสนิมด้วยน้ำยากัดสนิมเช็ดจาระบีเก่าและน้ำมันหล่อลื่นเดิมออก รวมทั้งทำความสะอาดฝุ่นและเศษดินทรายออกให้หมด
ข้อสังเกตุ
ใช้น้ำมันหล่อลื่นหนอดเพียง 2 หยด จะช่วยป้องกันไม่ให้โบลท์และน๊อตเป็นสนิมที่ติดตาย และทำให้ง่ายแก่การถอด ถ้าโบลท์หรือน๊อตเป็นสนิมต้องเปลี่ยนใหม่
ส่วนที่ต้องทำการตรวจเช็ค
- ก้านบีบเบรค
- ก้านบีบครัตช์
- ขาตั้งข้าง
- ขาเบรคหลัง
- ข้อต่อสายเบรคหลัง
- ข้อต่อพักเท้า
- คันเร่ง
- สายครัตช์
- สายคันเร่ง
- คันสตาร์ท
ในการดูแลรักษาและปรับกลไกต่างๆตามระยะเวลาที่กำหนดนี้เป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง หากปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง ตามระยะเวลาแล้ว จะช่วยยืดอายุการทำงานของงชิ้นส่วนต่างๆให้ยืนยาวออกไป รวมทั้งยังช่วยให้เกิดความปลอดภัยในการขับขี่ด้วย
ตารางการบำรุงรักษา