สายพานการผลิตรถจักรยานยนต์ซูเปอร์สปอร์ตในพิกัดความจุ 150 cc ภายใต้การการันตีคุณภาพสินค้าจากค่าย "ยามาฮ่า" ได้ฤกษ์เปิดสวิทช์รถซูเปอร์สปอร์ต "โมเดลใหม่ล่าสุด" ป้อนเข้าสู้โชว์รูมทั่วไทยอีกครั้งหนึ่ง การกลับมาของรถซูเปอร์สปอร์ตนิวโมเดลจากค่ายามาฮ่าในคราวนี้นับว่าเป็นการสร้างคามเซอร์ไพรส์ให้กับนักบิดทั่วเมืองไทยได้แตกตื่นฮือฮากันครั้งใหญ่ในคราวนี้ เพราะสินค้าตัวใหม่ล่าสุดที่ยามาฮ่าเข็นออกมา มาจากสายการผลิตสดสดร้อนร้อนนี่มีการพัฒนารูปโฉมและสมรรถนะทางด้านเทคนิคใหม่หมดทุกส่วนสัด เพื่อกลับเข้าสู่ทษวรรษแห่งการเป็นผู้นำในตลาดนี้อย่างเต็มตัวอีกครั้ง
ส่วนรหัสเรียชื่อรุ่นรถซูเปอร์สปอร์ตตัวใหม่ล่าสุดใช้ว่า "TZM" ซึ่งเป็นรหัสเดียวกันกับที่ใช้อยู่ในรถแข่งที่ได้ครองแชมป์โลก GP2 ในรายการเวิร์ดกรังด์ปรีช์แชมเปี้ยนชิพ 1993 คือ "TZ 250 M" คู่ขาของ "เท็ตซึยา ฮาราดะ" และในปีศักราชนี้ ยามาฮ่าได้นำรหัส "TZM" มาใช้กับรถซูเปอร์สปอร์ตรุ่นใหม่ล่าสุดเพื่อตอบสนองให้นักบิดชาวไทยเราได้สะใจกันทั่วหน้า
ระบบ เบรกหน้า หลัง มีประสิทธิภาพการทำงานสูง ซึ่งเชื่อว่าดีที่สุดในบรรดารถพิกัดเดียวกันในช่วงนั้น เพราะดิสค์เบรกหน้าปั้มลูกสูบแบบคู่ใช้จานเบรคแบบโฟลทติ้งดิสค์เบรคจานเดียว 2 ชั้นขนาดใหญ่ให้ตัวได้ (เหมือนกับจานดิสค์เบรกที่ใช้ปั๊มลูกสูบคู่แบบเดียว ให้ประสิทธิภาพการเบรคได้สูงกว่าดิสค์เบรคธรรมดาทั่วไปถึง 15%)
ระบบกันสะเทือนด้านหน้า หลัง ให้พลังซึมซึบแรงสั่นสะเทือนในด้านการขับขี่ทั่วไปได้แจ๋ว โช้คอัพหน้าเป็นแบบเทเลสโคปิ๊คเพิ่มความทนทานของสปริงขึ้นอีก 11% ใช้แกนโช๊คขนาดใหญ่ให้ช่วงยุบตัวได้ถึง 130 มม ส่วนโช๊คอัพหลังแบบโมโมครอสออกแบบใหม่เช่นกัน (แต่ไม่ยักกะมีกระเดืองทดแรงอย่างที่คิด) เพิ่มความทนทานของสปริงอีก 20% ช่วงยุบตัวสูงสุด 100 มม.
เครื่องยนต์ 147 cc สมรรถนะสูง เสื้อสูบเคลือบสาร NNC
เครื่องยนต์ของ TZM มีการพัฒนานำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วยเพิ่มสมรรถนะความแรงของขุมพลังมากขึ้นกว่าเดิม เครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ แคร้งเคสรีดวาล์ว ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ สูบเดียว 147 cc ใช้เสื้อสูบแบบอลูมิเนียมอัลลอย เคลือบสาร NNC ช่วยผิดของเสื้อสูบลื่นขึ้นและสามารถลดระดับความร้อนที่เกิดจากการเสียดสในห้องเผาไหม้ได้ดียิ้งขึ้น นอกจากนี้ลูกสูบยังเป็บแบบหัวเรียบหรือหัวตัดแบบรถแข่งพร้อมด้วยฝาสูบดีไซน์ใหม่ส่งผลให้เครื่องยนต์ผลิตแรงม้าได้สูงสุด 36.5 ม้าที่ 9500 รอบ/นาที เกียร์ 6 สปีด พร้อมด้วยระบบ YPVS (YAMAHA POWER VALVE SYSTEM) ควบคุมการคายไอเสียให้เหมาะสมกับวามเร็วรอบของเครื่องยนต์ ซึ่งระบบนี้จะควบคุมการทำงานด้วยระบบไมโครคอมพิวเตอร์ ช่วยให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูง แม้ในรอบเครื่องยนต์ต่ำและรอบเครื่องงยนต์ปานกลาง และระบบ YCLS เป็นระบบไมโครคอมพิวเตอร์ที่สามารถความคุมการจ่ายน้ำมันออโต้ลูบให้เหมาะสมกับความเร็วรอบเครื่องยนต์ ช่วยให้การเผาไหม้เป็นไปอย่างสมบูรณ์และประหยัดน้ำมันออโต้ลูบได้โดยไม่สูญเสียไปโดยใช่เหตุ ซึ่งระบบ YCLS นี้ได้นำมาใช้กับรถจักรยานยนต์ยามาฮ่าตั้งแต่รุ่น RXZ VR และ TZR150 มาอย่างได้ผลก่อนหน้านี้แล้ว
คาบูร์เรเตอร์แบบ POWER JET ยามาฮ่า TZM นำเอาคาร์บูเรเตอร์รุ่น VM 30 SS ซึ่งประกอบด้วย POWER JET ออกแบบให้ทำงานสัมพันธ์กับรอบเครื่อง ยนในรอบที่สูง POWER JETจะช่วยป้อนใหเชื้อเพลิงที่มีส่วนผสมของน้ำมันกับอากาศอย่างเหมาะสมพร้อมด้วยหม้อกรองอากาศขนาดหญ่เพิ่มประสิทธิภาพในการป้อนเชื้อเพลิงและช่วยลดเสียงดังได้อีกทางหนึ่ง
ข้อมูลเฉพาะ TZM 150
เครื่องยนต์ 2 จังหวะ สูบเดียว แคร้งเคสรีดวาล์วอินดันชั่น
ปริมาณกระบอกสูบ 147 cc
กระบอกสูบxช่วงชัก 59.0x54.0 มม.
อัตราส่วนกำลังอัด 6.0 : 1
แรงม้าสูงสุด 36.0 แรงม้า (PS) ที่ 10500 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด 2.5 กก-ม ที่ 9500 รอบ/นาที
ระบบหล่อลื่น ยามาฮ่า ออโต้ลูบ
ระบบควบคุมไอเสีย YPVS+YCLS
คาร์บูเรเตอร์ VM 30 ss
ระบบจุดระเบิด CDI
ระบบสตาร์ท สตาร์ทเท้า
ความจุถังน้ำมัน 13 ลิตร
ความจุถังน้ำมันออโต้ลูบ 1.2 ลิตร
ระบบเกียร์ คอนสแตนท์แมช 6 จังหวะ
ระบบคลัทช์ มัตติเพลท แบบเปียก
ขนาด (กว้างxยาวxสูง) 685 มม. x 1965 มม. x 1100 มม.
ความสูงจากพื้นถึงเบาะ 765 มม.
ช่วงห่างแกนล้อ 1.335 มม.
ระบบกันสะเทือน หน้า เทเลสโคปิค หลัง โมโนครอส
ระบบห้ามล้อ หน้า โฟรทดิ้งดิสค์เบรค ขนาด 298 มม. หลัง ออฟโฟสดิสค์เบรก ขนาด 210 มม.
ขนาดยาง หน้า 90/80-17 46s หลัง 110/80-17 เรเดียลไม่ใช้ยางใน
TZM คือรหัสแห่งความแรงทายาทสายพันธุ์ซูเปอร์สปอร์ตระดับกรังด์ปรีช์ที่ได้รับการถ่ายทอดนำเอาเทคโนโลยีจากตัวแข่งเวิลด์กรังด์ปรีช์เข้ามาบรรจุอยู่ในเรือนร่างมากที่สุด เพื่อให้กับนักบิดทั่วไทย เราได้สัมผัสกับรถตักรยานยนต์ที่มีสมรรถนะและความปลอดภัยสูง ที่สำคัญไม่ส่งผลกระทบที่เป็นมลภาวะต่อสภาพอากาศ ซึ่งเป็นนโยบายหลักในการผลิตรถจักรยานยนต์ 2 จังหวะของยามาฮ่าทั่วโลก
"TZM 150" รถซูเปอร์สปอร์ตที่มีกาีรพัฒนาดีไซน์รูปลักษณ์สมบูรณ์แบบใกล้เคียงกับรูปลักษณ์ของรถแข่งมากที่สุดอีกรุ่นหนึ่งในทศวรรษนี้ ทางด้านศักยภาพ ความแรงนั้น TZM มีการพัฒนานำเอาเทคโนโลยีสมัยใหม่เข้ามาใช้เป็นส่วนประกอบของตัวรถรวมด้วยกันหลายจุด เรียกว่าปฏิรูปเทคนิคใหม่หมดทั้งคันเลยก็ว่าได้ ด้านสมรรถนะของเครื่องยนต์มีการเปลี่ยนแปลงไปจากเดิมอีกหลายจุดด้วยกัน ซึ่งพอที่จะแยกแยะออกเป็นหัวข้อใหญ่ได้ 3 ประการคือ 1 รูปทรงภายนอก (BODY) 2 สมรรถนะของเครื่องยนต์ (ENGINE) และประการสุดท้ายคือ 3 รายละเอียดของชิ้นส่วนต่างๆเรามาเริ่มทำความรู้จักกับเทคโนโลยีที่อัดแน่นอยู่ในร่างของ TZM กันเลยดีกว่า
รูปทรงภายนอก จุดเรียกร้องความสนใจที่นักบิดชาวไทยเราให้ความสำคัญมากพอๆกับสมรรถนะก็คือ รูปทรงภายนอก สำหรับ TZM นั้นมีการพัฒนาฮีกแนวเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัวโดยการนำเอารูปทรงของ TZR 250 โมเดลปี 1994 ย่อส่วนลงมาบรรจุอยู่ในเรืองร่างอย่างลงตัวดูสวยงามและดุดันมากยิ่งขึ้น ตัวแฟริ่งด้านหน้าแบบ AERODYNAMIC ซึ่งเป็นแฟริ่งแบบเต็มคัน ทันสมัยสไตล์เดียวกับรถแข่ง ออกแบบตามหลักอากาศพลศาสตร์ เมื่อมองจากด้านหน้ารถดูคล้ายคลึงกับรุ่น TZR 250 เป็นอย่างมาก (แต่มีขนาดเล็กกว่าหน่อยเท่านั้นเอง) ไฟหน้าดีไซน์แบบ CENEMA SCOPE ให้พลังส่องสว่างโดยหลอดฮาโลเจน 45/45 w ไฟเลี้ยวที่ด้านนอกออกแบบได้สวยงามวางอยู่ในตำแหน่งที่กลมกลืนรับกับไฟหน้า โดนฟังติดเป็นชิ้นเดียวกับแฟริ่ง ถังน้ำมันมีขนาดใหญ่สามารถเก็บน้ำมันเชื้อเพลิงได้มากถึง 13 ลิตร ฝาถังน้ำมันยังใช้ของเดิมจากรุ่น TZR 150 RR ซึ่งเป็นดีไซน์แบบเดียวกับที่ใช้อยู่ในเครื่องบิน (ฝันในตัวถัง) เบาะนั่งแบบสปอร์ตชิ้นเดียวกัน ส่วนท้ายยกระดับดูทันสมัย พร้อมด้วยบาร์ท้ายเบาะทำด้วยอลูมิเนียมไม่เป็นสนิม ส่วนฝาข้างทั้งซ้ายและขวาเป็นแบบชิ้นเดียวตลอดคันสไตล์รถแข่ง ไฟท้าย 2 ดวงคู่โดยมีไฟเลี้ยวแยกอิสระโดดเด่นเมื่อยามใช้งานและให้ความปลอยภัยต่อผู้ขับขี่
ลายกราฟฟิคใหม่เน้นสีสันเพื่อความสะใจของวัยรุ่น ซึ่งเป็นลายลักษณ์ของปี 1994 แบบเดียวกับที่ใช้อยู่ในรุ่น TZR 250 สวยสะดุดตา มีให้เลือกถึง 3 สีด้วยกัน คือ แดงขาว น้ำเงินขาว และสีดำ
แผงหน้าปัทม์เรือนไมล์
ยังคงใช้แบบเดิมที่ใช้อยู่ในรุ่น TZR 150 RR ทั้งเรือนไมล์เกจ์วัดรอบ เกจ์วัดน้ำมัน ซึ่งใช้อยู่ในเรือนเดียวกับเกจ์วัดความร้อนรักกับสวิตช์ความคุมที่ติดตั้งอยู่ที่แฮนด์ แบบจับโช๊คแยกส่วนทั้งซ้ายและขวา นอกจากนั้นปีะกับคันเร่งยังออกแบบใหม่ (แบบที่ใช้ในรถแข่ง)
ลายกราฟฟิคใหม่เน้นสีสันเพื่อความสะใจของวัยรุ่น ซึ่งเป็นลายลักษณ์ของปี 1994 แบบเดียวกับที่ใช้อยู่ในรุ่น TZR 250 สวยสะดุดตา มีให้เลือกถึง 3 สีด้วยกัน คือ แดงขาว น้ำเงินขาว และสีดำ
แผงหน้าปัทม์เรือนไมล์
ยังคงใช้แบบเดิมที่ใช้อยู่ในรุ่น TZR 150 RR ทั้งเรือนไมล์เกจ์วัดรอบ เกจ์วัดน้ำมัน ซึ่งใช้อยู่ในเรือนเดียวกับเกจ์วัดความร้อนรักกับสวิตช์ความคุมที่ติดตั้งอยู่ที่แฮนด์ แบบจับโช๊คแยกส่วนทั้งซ้ายและขวา นอกจากนั้นปีะกับคันเร่งยังออกแบบใหม่ (แบบที่ใช้ในรถแข่ง)
เฟรมตัว TZM ถูกถอดแบบย่อส่วนมาจากเฟรมที่ใช้อยู่ในตัวแข่ง โดยมีการดีไซน์ให้มีระยะท่างระหว่างองศาที่คอรถและจุดหมุนของสวิงอาร์มสั้นลงกว่าเดิม เพิ่มประสิทธิ์ภาพการทรงตัวได้ดีเยี่ยม วัสดุที่ใช้เป็นชนิดพิเศษ ผลิตด้วยเทคโนโลยีชั้นสูง แข็งแกร่งทนแรงบิดได้สูงกว่าเฟรมธรรมดาทั่วไปถึง 55% ส่วนเฟรมด้านท้ายยังคงเป็นแบบท่อเหล็กยึดติดกันเดลต้าบ๊อกซ์ แต่มีองศาที่กว่ามิติของ TZR ส่วนเฟรมด้านล่างทรงเปลคู่ยึดห้องเครื่องยนต์ไว้อย่างมั่นคงและสามารถถอดเฟรมด้านขวาออกได้เพียงขันน๊อต 4 ตัวเท่านั้นทำให้การเซอร์วิสเครื่องยนต์ทำได้สะดวกยิ่งขึ้น สวังอาร์มหลังทรงเหลี่ยมขนาดใหญ่ทนแรงบิดได้สูง รับกับพักเท้าแบบเกียร์โยง และเฟรมเดลต้าบ๊อกซ์อย่างลงตัว
ช่วงล่าง ล้อ ยาง เบรก โช้ค เพอเฟคพอตัว
ล้อยางสไตล์รถแข่ง TZM 150 เป็นรถซูเปอร์สปอร์ตรุ่นแรกของยามาฮ่าที่ใช้ล้อเป็นล้อแม๊กแบบ 3 ก้านซึ่งใช้วัสดุพิเศษผลิตจากเทคโนโลยีชั้นสูง มีน้ำหนักเบาเพราะเป็นล้อแม๊กแบบกลวงขนาด 17 นิ้วทั้งล้อหน้าและล้อหลัง สวยงามตามสไตล์รถแข่ง ส่วนยางที่ใช้เป็นยางแบบเรเดียลขนาดใหญ่และไม่มียางใน (TUBELLESS) หรือที่เรารู้จักกันดีที่เรียกว่า "ยางจุ๊บเลส" นักว่าเป็นสปอร์ตรุ่นแรกในไทยที่หันมาใช้ยางแบบเรเดียล ยางหน้าของ IRC ขนาด 90/80-17 46s ยางหลัง IRC ขนาด 110/80-17 57s ลายดอกยางดีไซน์ใหม่ลายสปอร์ตหน้ากว้างเสริมความมั่นใจในการขับขี่มากยิ่งขึ้นหลังจากยามาฮ่าถูกโจมตีอย่างหนักเกี่ยวกับสมรรถนะของระบบช่วงล่างของรุ่น TZR 150 RR ว่าม่ค่อยจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์แบบเท่าที่ควร มาคราวนี้ยามาฮ่าสามารถลบคำสบประมาทจากกระแสโจมตีได้อย่างดี เพราะรถซูเปอร์สปอร์ต TZM150 ตัวใหม่นี้มีการปรับเซ็ทระบบช่วงล่าง อันประกอบด้วย ล้อ ยาง เบรค โช้คกันใหม่หมด เพิ่มศักยภาพความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่ได้มากยิ่งขึ้น
ล้อยางสไตล์รถแข่ง TZM 150 เป็นรถซูเปอร์สปอร์ตรุ่นแรกของยามาฮ่าที่ใช้ล้อเป็นล้อแม๊กแบบ 3 ก้านซึ่งใช้วัสดุพิเศษผลิตจากเทคโนโลยีชั้นสูง มีน้ำหนักเบาเพราะเป็นล้อแม๊กแบบกลวงขนาด 17 นิ้วทั้งล้อหน้าและล้อหลัง สวยงามตามสไตล์รถแข่ง ส่วนยางที่ใช้เป็นยางแบบเรเดียลขนาดใหญ่และไม่มียางใน (TUBELLESS) หรือที่เรารู้จักกันดีที่เรียกว่า "ยางจุ๊บเลส" นักว่าเป็นสปอร์ตรุ่นแรกในไทยที่หันมาใช้ยางแบบเรเดียล ยางหน้าของ IRC ขนาด 90/80-17 46s ยางหลัง IRC ขนาด 110/80-17 57s ลายดอกยางดีไซน์ใหม่ลายสปอร์ตหน้ากว้างเสริมความมั่นใจในการขับขี่มากยิ่งขึ้นหลังจากยามาฮ่าถูกโจมตีอย่างหนักเกี่ยวกับสมรรถนะของระบบช่วงล่างของรุ่น TZR 150 RR ว่าม่ค่อยจะมีประสิทธิภาพสมบูรณ์แบบเท่าที่ควร มาคราวนี้ยามาฮ่าสามารถลบคำสบประมาทจากกระแสโจมตีได้อย่างดี เพราะรถซูเปอร์สปอร์ต TZM150 ตัวใหม่นี้มีการปรับเซ็ทระบบช่วงล่าง อันประกอบด้วย ล้อ ยาง เบรค โช้คกันใหม่หมด เพิ่มศักยภาพความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่ได้มากยิ่งขึ้น
ระบบ เบรกหน้า หลัง มีประสิทธิภาพการทำงานสูง ซึ่งเชื่อว่าดีที่สุดในบรรดารถพิกัดเดียวกันในช่วงนั้น เพราะดิสค์เบรกหน้าปั้มลูกสูบแบบคู่ใช้จานเบรคแบบโฟลทติ้งดิสค์เบรคจานเดียว 2 ชั้นขนาดใหญ่ให้ตัวได้ (เหมือนกับจานดิสค์เบรกที่ใช้ปั๊มลูกสูบคู่แบบเดียว ให้ประสิทธิภาพการเบรคได้สูงกว่าดิสค์เบรคธรรมดาทั่วไปถึง 15%)
ระบบกันสะเทือนด้านหน้า หลัง ให้พลังซึมซึบแรงสั่นสะเทือนในด้านการขับขี่ทั่วไปได้แจ๋ว โช้คอัพหน้าเป็นแบบเทเลสโคปิ๊คเพิ่มความทนทานของสปริงขึ้นอีก 11% ใช้แกนโช๊คขนาดใหญ่ให้ช่วงยุบตัวได้ถึง 130 มม ส่วนโช๊คอัพหลังแบบโมโมครอสออกแบบใหม่เช่นกัน (แต่ไม่ยักกะมีกระเดืองทดแรงอย่างที่คิด) เพิ่มความทนทานของสปริงอีก 20% ช่วงยุบตัวสูงสุด 100 มม.
เครื่องยนต์ของ TZM มีการพัฒนานำเอาเทคโนโลยีใหม่ๆเข้ามาช่วยเพิ่มสมรรถนะความแรงของขุมพลังมากขึ้นกว่าเดิม เครื่องยนต์แบบ 2 จังหวะ แคร้งเคสรีดวาล์ว ระบบระบายความร้อนด้วยน้ำ สูบเดียว 147 cc ใช้เสื้อสูบแบบอลูมิเนียมอัลลอย เคลือบสาร NNC ช่วยผิดของเสื้อสูบลื่นขึ้นและสามารถลดระดับความร้อนที่เกิดจากการเสียดสในห้องเผาไหม้ได้ดียิ้งขึ้น นอกจากนี้ลูกสูบยังเป็บแบบหัวเรียบหรือหัวตัดแบบรถแข่งพร้อมด้วยฝาสูบดีไซน์ใหม่ส่งผลให้เครื่องยนต์ผลิตแรงม้าได้สูงสุด 36.5 ม้าที่ 9500 รอบ/นาที เกียร์ 6 สปีด พร้อมด้วยระบบ YPVS (YAMAHA POWER VALVE SYSTEM) ควบคุมการคายไอเสียให้เหมาะสมกับวามเร็วรอบของเครื่องยนต์ ซึ่งระบบนี้จะควบคุมการทำงานด้วยระบบไมโครคอมพิวเตอร์ ช่วยให้เครื่องยนต์มีประสิทธิภาพสูง แม้ในรอบเครื่องยนต์ต่ำและรอบเครื่องงยนต์ปานกลาง และระบบ YCLS เป็นระบบไมโครคอมพิวเตอร์ที่สามารถความคุมการจ่ายน้ำมันออโต้ลูบให้เหมาะสมกับความเร็วรอบเครื่องยนต์ ช่วยให้การเผาไหม้เป็นไปอย่างสมบูรณ์และประหยัดน้ำมันออโต้ลูบได้โดยไม่สูญเสียไปโดยใช่เหตุ ซึ่งระบบ YCLS นี้ได้นำมาใช้กับรถจักรยานยนต์ยามาฮ่าตั้งแต่รุ่น RXZ VR และ TZR150 มาอย่างได้ผลก่อนหน้านี้แล้ว
ข้อมูลเฉพาะ TZM 150
เครื่องยนต์ 2 จังหวะ สูบเดียว แคร้งเคสรีดวาล์วอินดันชั่น
ปริมาณกระบอกสูบ 147 cc
กระบอกสูบxช่วงชัก 59.0x54.0 มม.
อัตราส่วนกำลังอัด 6.0 : 1
แรงม้าสูงสุด 36.0 แรงม้า (PS) ที่ 10500 รอบ/นาที
แรงบิดสูงสุด 2.5 กก-ม ที่ 9500 รอบ/นาที
ระบบหล่อลื่น ยามาฮ่า ออโต้ลูบ
ระบบควบคุมไอเสีย YPVS+YCLS
คาร์บูเรเตอร์ VM 30 ss
ระบบจุดระเบิด CDI
ระบบสตาร์ท สตาร์ทเท้า
ความจุถังน้ำมัน 13 ลิตร
ความจุถังน้ำมันออโต้ลูบ 1.2 ลิตร
ระบบเกียร์ คอนสแตนท์แมช 6 จังหวะ
ระบบคลัทช์ มัตติเพลท แบบเปียก
ขนาด (กว้างxยาวxสูง) 685 มม. x 1965 มม. x 1100 มม.
ความสูงจากพื้นถึงเบาะ 765 มม.
ช่วงห่างแกนล้อ 1.335 มม.
ระบบกันสะเทือน หน้า เทเลสโคปิค หลัง โมโนครอส
ระบบห้ามล้อ หน้า โฟรทดิ้งดิสค์เบรค ขนาด 298 มม. หลัง ออฟโฟสดิสค์เบรก ขนาด 210 มม.
ขนาดยาง หน้า 90/80-17 46s หลัง 110/80-17 เรเดียลไม่ใช้ยางใน